วัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัยของภาคเหนือ มีลักษณะอย่างไร

ภาคเหนือ
ภาคเหนือ

ภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน และมีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเล               และเส้นลองติจูดที่อยู่ด้านบน ทำให้มีอากาศหนาวเย็นมากกว่าภาคอื่นในฤดูหนาว เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมคนนิยมไปเที่ยวจังหวัดทางภาคเหนือในฤดูหนาว เพราะว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามให้คุณได้เที่ยวชมและทำให้คุณได้สัมผัสกับหน้าหนาวที่หนาวจริงๆ เมื่อในฤดูหนา ภาคเหนือมีอากาศเย็นมาก                                จึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของชาวภาคเหนือด้วยเหมือนกัน สังเกตได้จากวัฒนธรรมด้านที่อยู่อาศัยของภาคเหนือ

            เรือนไทยภาคเหนือคล้ายเรือนภาคกลาง ตรงที่มีไต้ถุนสูงเหมือนกัน แต่ลักษณะอื่นๆกลับต่างกัน                      โดยสิ้นเชิง อย่างเช่น หลังคาและสัดส่วนของเรือนไทยภาคเหนือจะเตี้ยกว่า และเจาะหน้าต่างเล็กๆ และแคบ                   เพื่อกันลมหนาวเข้ามา การจัดวางอาคารและแปลนต่างๆ มีความสมดุลแบบสองข้างที่ไม่เหมือนกัน มีชานไว้เชื่อมต่อเรือนต่างๆเข้าด้วยกัน โดยเรือนทางภาคเหนือจะมี 2 แบบ คือ เรือนไทยดั้งเดิมและเรือนพื้นบ้าน

            เรือนไทยดั้งเดิม จะมีการยกใต้ถุนสูง ทำหลังคาแฝดติดกัน มีรางน้ำตรงกลางและมีการนำไม้แกะสลักมาไขว้กันที่เราเรียกว่า กาแล ข้างบนสุดของหลังคา เป็นคติความเชื่อเรื่องโชคลาง การบูชา                                               โดยเรือนนี้สามารถอยู่ได้เป็น 100 ปีหากช่างที่ก่อสร้างมีฝีมือดีและประณีต                                                                        เรือนแบบนี้จะประกอบด้วยอาคารอย่างน้อย 2 หลัง หลังใหญ่จะมีห้องนอน ระเบียง                                                              แต่หลังเล็กจะใช้เป็นห้องครัว เป็นต้น

            เรือนพื้นบ้าน คือ มีทั้งเรือนชั่วคราวและเรือนถาวร เรือนชั่วคราว คือ เรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่                            เป็นส่วนใหญ่ การยึดโครงสร้างคล้ายกับเรือนในภาคกลาง และจะใช้วิธีเจาะรู ฝังเดือย ผูกด้วยตอกหรือหวาย หลังคามุงด้วยหญ้าคา มีห้องนอน 1ห้อง ไม่แยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน ส่วนเรือนถาวร เหมือนเรือนลูกผสม ใต้ถุนยกสูงสุดประมาณ 2 เมตร เสาและพื้นใช้ไม้เบญจพรรณ หลังคาจั่ว ด้านหน้ามีกันสาด ใช้เสา 2 ต้นรับ โครงสร้างหลังคามีทั้งไม้จริงมุงด้วยกระเบื้องดินเผา และโครงไม้ไผ่มุงด้วยใบตองตึง เป็นต้น

            อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะปลูกเรือนแบบไหน ต้องศึกษารายละเอียดให้ดีเพื่อให้ถูกต้องตามแบบแผน                     ของเรือนในภาคเหนือ เพราะว่าเรือนในภาคเหนือได้รับการออกแบบมาให้สอดคล้องกับภูมิประเทศและภูมิอากาศอยู่แล้ว ในบางครั้งอาจดัดแปลงได้บ้าง แต่ก็ไม่ควรดัดแปลงทั้งหมด เพราะว่าอาจทำให้                                       เกิดความไม่สมดุลของเรือนได้ และทีสำคัญยังอาจทำให้เรือนไทยของเราร้อนหรือหนาวเกินไปได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องของแบบแปลนบ้านเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจและทำให้ถูกต้องจะดีกว่า

About the Author

You may also like these