วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของภาคกลาง มีกี่ประเภท

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม

ภาคกลาง มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ เกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำ และชาวบ้านจะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ ทั้งทำการเกษตร ค้าขาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ริมแม่น้ำกัน ทำให้เกิดการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวพัน                      กับสายน้ำ หรือแม้กระทั่งเรื่องของที่อยู่อาศัยด้วย โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย                        ในภาคกลางกัน

            และที่อยู่อาศัยที่เราเห็นก็รู้ได้เลยว่า เป็นวัฒนธรรมทางภาคกลาง คือ บ้านทรงไทย ซึ่งมีการออกแบบ    ให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยลักษณะของบ้านจะยกพื้นสูง                    ป้องกันน้ำท่วม เพราะในฤดูฝนพื้นที่ลุ่มต่ำมักจะถูกน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ และการมีใต้ถุนบ้าน                                          ช่วยทำให้การดำเนินชีวิตทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถใช้เป็นที่เก็บของ ตำข้าว เป็นต้น และบ้านทรงไทยนี้จะมีหลังคาสูงและชันด้วย ทำให้ตัวบ้านเย็น เพราะอากาศจะถ่ายเทความร้อนได้ช้า และยังทำให้น้ำฝนระบายจากหลังคาได้อย่างรวดเร็ว และยังมีชายคายื่นออกมา เพื่อป้องกันทั้งฝนและแสงแดด  และบ้านเรือนไทย                         มักมีบริเวณบ้าน โดยเฉพาะที่โล่งหรือลานกลางบ้าน เพื่อให้ทุกคนในบ้านมีโอกาสได้พูดคุย                                           หรือทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น และยังสามารถใช้จัดงานต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่ง ก็ทำได้สะดวก

            บ้านเรือนไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง และเรือนไม้ผูก      ที่มักทำจากไม้ไผ่จะมีการยกพื้นสูง หลังคาหน้าจั่วทรงสูง สร้างโดยไม่ใช้ตะปู และเราสามารถนำมาประกอบกัน เรียกว่า การเข้าไม้  โดย ลักษณะของเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกใต้ถุนสูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ ระเบียงและชานก็ยกสูงด้วย และมีความลดหลั่นกันไป ส่วนหลังคาของเรือไทยจะเป็นทรงมนิลาที่มีการ                           ใช้ไม้ทำโครง ส่วนหลังคาอาจใช้จากแฝกปละกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา และต้องมีองศา                                ในการวางโครงสร้างอย่างถูกต้อง ต้องลดหลั่นกันลงมาตามหลัก เพื่อให้ช่วยบรรเทาความร้อน และทำให้น้ำฝนไหลลงหลังคาไม่ขังไว้นาน สำหรับเรือนครัวตางหน้าจั่วให้ใช้ไม้ในการตีเว้นช่อง เพื่อให้สามารถถ่ายเทควันไฟได้ดี และในส่วนของกันสาดหรือบริเวณที่ใช้กันแดด ต้องมีความครอบคลุมพอควร เพื่อให้สามารถป้องกันแสงแดดได้ดี

            ทั้งหมดนี้ คือลักษณะและจุดเด่นของบ้านทรงไทยที่ทุกคนควรทำความเข้าใจ เพื่อให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของบุคคล และการปลูกบ้านตามหลักธรรมชาติ จะช่วยให้คุณปลูกบ้านได้ตรงกับความต้องการ และกันทั้งแดดและฝนให้คุณได้

ภาคกลาง มีภูมิประเทศเป็นที่ราบ เกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำ และชาวบ้านจะตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ ทั้งทำการเกษตร ค้าขาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ริมแม่น้ำกัน ทำให้เกิดการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวพัน                      กับสายน้ำ หรือแม้กระทั่งเรื่องของที่อยู่อาศัยด้วย โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย                        ในภาคกลางกัน

            และที่อยู่อาศัยที่เราเห็นก็รู้ได้เลยว่า เป็นวัฒนธรรมทางภาคกลาง คือ บ้านทรงไทย ซึ่งมีการออกแบบ    ให้สอดคล้องกับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยลักษณะของบ้านจะยกพื้นสูง                    ป้องกันน้ำท่วม เพราะในฤดูฝนพื้นที่ลุ่มต่ำมักจะถูกน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ และการมีใต้ถุนบ้าน                                          ช่วยทำให้การดำเนินชีวิตทำได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถใช้เป็นที่เก็บของ ตำข้าว เป็นต้น และบ้านทรงไทยนี้จะมีหลังคาสูงและชันด้วย ทำให้ตัวบ้านเย็น เพราะอากาศจะถ่ายเทความร้อนได้ช้า และยังทำให้น้ำฝนระบายจากหลังคาได้อย่างรวดเร็ว และยังมีชายคายื่นออกมา เพื่อป้องกันทั้งฝนและแสงแดด  และบ้านเรือนไทย                         มักมีบริเวณบ้าน โดยเฉพาะที่โล่งหรือลานกลางบ้าน เพื่อให้ทุกคนในบ้านมีโอกาสได้พูดคุย                                           หรือทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น และยังสามารถใช้จัดงานต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นงานบวช งานแต่ง ก็ทำได้สะดวก

            บ้านเรือนไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง และเรือนไม้ผูก      ที่มักทำจากไม้ไผ่จะมีการยกพื้นสูง หลังคาหน้าจั่วทรงสูง สร้างโดยไม่ใช้ตะปู และเราสามารถนำมาประกอบกัน เรียกว่า การเข้าไม้  โดย ลักษณะของเรือนไทยภาคกลางเป็นเรือนยกใต้ถุนสูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ ระเบียงและชานก็ยกสูงด้วย และมีความลดหลั่นกันไป ส่วนหลังคาของเรือไทยจะเป็นทรงมนิลาที่มีการ                           ใช้ไม้ทำโครง ส่วนหลังคาอาจใช้จากแฝกปละกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา และต้องมีองศา                                ในการวางโครงสร้างอย่างถูกต้อง ต้องลดหลั่นกันลงมาตามหลัก เพื่อให้ช่วยบรรเทาความร้อน และทำให้น้ำฝนไหลลงหลังคาไม่ขังไว้นาน สำหรับเรือนครัวตางหน้าจั่วให้ใช้ไม้ในการตีเว้นช่อง เพื่อให้สามารถถ่ายเทควันไฟได้ดี และในส่วนของกันสาดหรือบริเวณที่ใช้กันแดด ต้องมีความครอบคลุมพอควร เพื่อให้สามารถป้องกันแสงแดดได้ดี

            ทั้งหมดนี้ คือลักษณะและจุดเด่นของบ้านทรงไทยที่ทุกคนควรทำความเข้าใจ เพื่อให้ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของบุคคล และการปลูกบ้านตามหลักธรรมชาติ จะช่วยให้คุณปลูกบ้านได้ตรงกับความต้องการ และกันทั้งแดดและฝนให้คุณได้

About the Author

You may also like these