พิธีปล่อยโคมลอยเป็นอย่างไร?

พิธีปล่อยโคมลอย

ปัจจุบันประเพณีการปล่อยโคมลอยนั้น ยังมีการสืบสารมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเรามักจะเห็นประเพณีกันในทางภาคเหนือหรือภาคอีสานเป็นหลักครับ วันนี้เราจะขอพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “พิธีปล่อยโคมลอย?”  ว่าเป็นอย่างไรกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลานั้น…เราไปชมกันดีกว่า!!

ทำความรู้จักกับ ประเพณีการปล่อยโคมลอย

ก่อนอื่นเราควรจะรู้จักกับคำว่า “โคม” ซึ่งเป็นชื่อเมืองโบราณของจังหวัดเชียงราย มีชื่อเต็มๆว่า สุวรรณโคมคำ โคม คือเครื่องสักการะและเป็นเครื่องมือให้แสงสว่าง โดย “โคมไฟล้านนา” ถือได้ว่าเป็นงานฝีมือหรืองานหัตถกรรมพื้นเมืองจากภูมิปัญญาชาวบ้านสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาอย่างช้านาน ได้ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อให้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ของภาคเหนือ  สำหรับในปัจจุบันนี้ชาวล้านนานิยมนำมาประกอบในงานพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะในงาน “ประเพณียี่เป็ง” มักแขวนโคมไว้บนที่สูง โคมทำจากไม้ไผ่เส้นเล็กๆนำมาขึ้นโครงและนำกระดาษแก้วมาปิดทำเป็นรูปร่าง  มีมากมายหลายรูปแบบ มีความเชื่อว่าแสงประทีปจากโคมจะช่วงส่องประกายให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข ชาวล้านนาจึงนิยมปล่อยโคมขึ้นฟ้าและจุดประทีปตามไว้ตามบ้านเรือน ซึ่งปัจจุบันได้มีการประยุกต์ใช้โคมไฟมาทำเป็นเครื่องประดับตามรบ้านเรือน รวมไปถึงสถานที่ต่าง ๆ เพื่อความสวยงาม และยังช่วยสืบสานงานหัตถกรรมของโคมล้านนาให้คงอยู่สืบต่อไป

ความเชื่อเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย เชื่อกันว่า…การปล่อยโคมลอยเป็นการปล่อยเคราะห์กรรมความชั่วสิ่งเลวร้ายต่างๆให้ลอยออกไปจากชีวิต, เป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เป็นการส่งเหล่าเทวดาเหล่ากลับคืนสู่สวรรค์

ประเพณียี่เป็ง เป็นอย่างไร?

ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย

งานประเพณีจะมีสามวัน

–          วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด

–          วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน

–          วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท

ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ โดยจำลองเหตุการณ์ที่ชาวเมืองจัดบ้านเมืองเพื่อต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดร และมีการจุดถ้วยประทีป(การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นเองครับ

ข้อควรระวังในการปล่อยโคมลอยในเทศกาลต่างๆ

●ควรเลือกปล่อยโคมลอยที่มีขนาด และรูปแบบตามมาตรฐาน ไม่ผิดแปลกพิสดาร พ่วงหรือผูกติดพลุ ดอกไม้ไฟ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นได้

●ควรเลือกจุดที่จะปล่อยโคมลอยได้อย่างปลอดภัย
– เลือกปล่อยในพื้นที่โล่งกว้าง ไม่มีสายไฟหรือต้นไม้ใกล้ๆ
– ไม่ปล่อยโคมลอยในบริเวณพื้นที่เสี่ยงอันตราย ที่จะก่อให้เกิดอัคคีภัย เช่น สนามบิน คลังน้ำมัน กองขยะ หญ้าแห้ง บ้านเรือนประชาชน ตลาด ป่าไม้ โรงเรียน วัด เป็นต้น
– ห้ามปล่อยโคมลอยเกินช่วงเวลาที่เทศกาลหรือประเพณีกำหนด เพราะการปล่อยโคมอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ในที่ต่างๆ ได้นั้นเองครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “พิธีปล่อยโคมลอยเป็นอย่างไร” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะชอบและเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ

About the Author

You may also like these