ประเพณีใดบ้างที่มีการปล่อยโคมลอย

ประเพณีไทย

“โคมลอย” เป็นสิ่งที่เรามักจะเห็นกันในเทศกาลหรือประเพณีที่มีช่วงเวลาที่สำคัญกันใช่มั้ยหล่ะครับ เพราะความสวยงามของแสงโคมลอยในยามค่ำคืนส่งผลทำให้จนบางครั้งได้ถูกนำเป็นฉากอันสวยงามในภาพยนตร์หรือเกมส์ต่างๆ มากมายเลยก็มีให้เห็นครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ประเพณีใดบ้างที่มีการปล่อยโคมลอย” ที่น่าสนใจกันสักหน่อยครับ

ทำความรู้จักกับ โคมลอย

โคมลอย คือ วัตถุจุดไฟแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ ลักษณะคล้ายกับบอลลูนลมร้อนขนาดเล็กอย่างหนึ่ง มักทำจากไม้ไผ่ตั้งเป็นโครงติดกระดาษสาทาน้ำมัน ข้างในใส่เทียนหรือเชื้อเพลิงแล้วจุด ความร้อนจะก่ออากาศภายในโคม โคมจึงเบาขึ้นจนค่อย ๆ ลอยไปในอากาศ เพราะฉะนั้น โคมลอยจึงลอยได้เท่าที่เพลิงยังไม่มอด เมื่อมอดแล้วก็ตกลงสู่พื้นโลกดังเดิม ในทวีปเอเชียและที่อื่นทั่วโลก มีการทำโคมลอยเป็นประเพณีมาหลายศตวรรษแล้ว เพื่อปล่อยสำหรับเล่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลซึ่งมีมายาวนาน เพื่อเฉลิมฉลองและการระลึกถึง เป็นต้น

ประเพณีไทยที่มีการปล่อยโคมลอย

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีเดือนยี่ หรือ ยี่เป็ง คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย

งานประเพณีจะมีสามวัน

– วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด
– วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน
– วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท

ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ โดยจำลองเหตุการณ์ที่ชาวเมืองจัดบ้านเมืองเพื่อต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดร และมีการจุดถ้วยประทีป(การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดว่าวไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นเองครับ

ประเพณีลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นเทศกาลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งเป็นเทวดาในคติฮินดู แต่เทศกาลนี้มีร่องรอยหลักฐานย้อนไปถึงจีนและอินเดียโบราณ ส่วนในประเทศไทยมีชื่อเรียกว่าลอยกระทง ส่วนประเทศอื่น ๆ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน โดยประเทศพม่ามีชื่อว่า “เทศกาลตาซองได”, ประเทศศรีลังกามีชื่อว่า “Il Full Moon Poya” และประเทศจีนมีชื่อว่า “เทศกาลโคมไฟ”

ทำไมถึงมีการรณรงค์ไม่ให้ปล่อยโคมลอยเกิดขึ้น?

เพราะการปล่อยโคมลอย โคมควันและการจุดบั้งไฟ อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ หรืออัคคีภัยร้ายแรง และเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยในการบิน ของอากาศยาน ที่นำมาถึงความเสียหายต่อชีวิตและทรัพสินของส่วนรวม เช่น ไฟไหม้บ้านเรือนประชาชน ไฟไหม้ป่าไม้ หรืออาจทำให้เครื่องบินตกได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ “2 ประเพณีที่มีการปล่อยโคมลอย” ที่เราได้นำมาแนะนำให้ทุกๆ ท่านได้ทราบกัน พร้อมกับรู้จักกับเทศกาลโคมลอยของต่างประเทศแบบคร่าวๆ กันในข้างต้น หวังว่าทุกๆ ท่านจะเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ นอกจากนี้เรายังคลายข้อสงสัยกันในเรื่องของ “การรณรงค์การไม่ปล่อยโคม” ให้ทุกๆ ท่านได้ตระหนักถึงอีกด้วยหล่ะครับ ศึกษาและทำตามไว้เพื่อป้องกันภัยในอนาคตกันนะครับ

About the Author

You may also like these